การที่รถมีสนิม,ฝุ่นและสิ่งสกปรกไม่ได้มาจากเครื่องยนต์เท่านั้น แต่ยังมาจากระบบหล่อเย็นอีกด้วย และนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เราต้องทำความสะอาดหม้อน้ำอยู่สม่ำเสมอ
ซึ่งเป็นอีกส่วนประกอบหนึ่งในการดูแลรักษารถยนต์
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
ตัวทำละลาย (4-8 ลิตร)
ที่รองหรือถังน้ำ
สายยางและก๊อก
ถุงมือ (ควรกันน้ำได้)
แปรงไนล่อนที่มีขนนิ่ม
น้ำสบู่
แว่นตานิรภัย
ภาชนะมิดชิดเพื่อป้องกันตัวทำละลาย
ผ้าขี้ริ้ว
คีมและไขควง (หากจำเป็น)
ขั้นตอนที่ 1 – เตรียมความพร้อม
ลำดับแรกเครื่องยนต์ต้องเย็นก่อน หากเครื่องยนต์ร้อนนั่นหมายถึงการที่สารหล่อเย็นร้อนไปด้วย และเป็นไปได้ที่จะทำให้คุณได้รับอันตรายเมื่อเปิดฝาหม้อน้ำ และน้ำเย็นก็สามารถทำความเสียหายให้กับเครื่องยนต์ที่ร้อนด้วย
ขั้นตอนที่ 2 – เริ่มทำความสะอาดหม้อน้ำ
เปิดฝากระโปรงรถและติดตั้งขาตั้งให้แน่นเพื่อป้องกันการปิดทับลงมา แล้วใช้แปรงไนลอนจุ่มน้ำสบู่เพื่อขัดทำความสะอาดพวกแมลงหรือฝุ่นต่างๆ ที่ติดอยู่ที่หม้อน้ำ โดยต้องเช็ดไปในทางที่ไม่สวนกับการหมุนของใบพัดเพราะใบพัดโค้งงอได้ง่าย และอาจเสียรูปทรง เมื่อใบพัดสะอาดให้ใช้สายยางฉีดน้ำทำความสะอาดอีกครั้งหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 3 – การทิ้งสารหล่อเย็นที่ใช้แล้วด้วยวิธีที่ถูกต้อง
สารหล่อเย็นมีพิษสูงแต่ด้วยกลิ่นหวานๆ ที่ล่อใจเด็กๆ และแมลง จึงไม่ควรทิ้งสารหล่อเย็นเอาไว้ หรือเทลงบนดิน ควรแน่ใจว่าภาชนะที่นำมารองจะไม่เอาไปใช้ในงานครัวอีกครั้ง ควรเลือกใช้ภาชนะที่ใช้แล้วทิ้งเลยจะดีที่สุด และควรจะมีขนาดเล็กพอดีที่จะใส่ใต้ท้องรถได้พอดี
เมื่อหาที่รองที่เหมาะสมได้แล้ว เลื่อนมันเข้าไปใต้ท้องรถและจัดให้อยู่ตรงกับวาล์วของท่อให้พอดี
ขั้นตอนที่ 4 – ตรวจสอบและเช็คฝาหม้อน้ำ
ฝาหม้อน้ำนั้นถูกปิดด้วยแรงดันเพื่อเก็บสารหล่อเย็นเอาไว้ เพื่อรักษาเครื่องยนต์ให้เย็น แรงดันของสารหล่อเย็นแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของเครื่องยนต์ และบนฝาจะระบุแรงดันเอาไว้
ฝาหม้อน้ำจะประกอบด้วยสปริงและยาง ความแข็งของสปริงและยางจะเป็นตัวบอกได้ว่าหม้อน้ำมีแรงดันมากน้อยเพียงใด และสามารถทนแรงดันได้เท่าไหร่ ถ้าสามารถกดสปริงได้ง่าย ก็ถึงเวลาที่ควรจะต้องเปลี่ยนฝาใหม่แล้ว สัญญาณอีกอย่างที่จะบอกได้ว่าเราควรเปลี่ยนได้ คือ หากมีสนิมมากหรือเกิดการเสื่อมสภาพของยางโดยทั่วไปควรเปลี่ยนทุก 2 ปี หรือจำง่ายๆ ว่า เรา ล้างหม้อน้ำรถยนต์ น้ำเมื่อไร ก็เปลี่ยนฝาใหม่ไปพร้อมกันเลย และอย่าลืมว่าฝาหม้อน้ำแต่ละตัวแตกต่างกัน และก็ทนแรงดันต่างกันด้วย
ขั้นตอนที่ 5 – ตรวจดูท่อของหม้อน้ำ
การตรวจดูท่อของหม้อน้ำรถยนต์ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 สาย
1. สายแรกอยู่ด้านบนของหม้อน้ำซึ่งเป็นสายที่นำเอาสารหล่อเย็นที่ร้อนออกจากเครื่องยนต์
2. สายสองอยู่ด้านล่างซึ่งจะเป็นสายที่นำเอาสารหล่อเย็นเข้าไปหล่อเย็นเครื่องยนต์
การเปลี่ยนสารหล่อเย็นนั้นควรตรวจสอบสภาพของสายทั้ง 2 เส้นให้ดีก่อน หากก้านยึดยังอยู่ในสภาพดีแข็งแรง ถ้าชำรุดหรือมีปัญหาที่สายใดสายหนึ่ง ให้เปลี่ยนพร้อมกันทั้งคู่
ขั้นตอนที่ 6 – การถ่ายน้ำยาหม้อน้ำที่ใช้แล้ว
วาล์วที่ทิ้งของเสียของหม้อน้ำนั้นควรจะมีที่จับ เพื่อจะได้ง่ายต่อการเปิด ให้ขันสกรูออก (อย่าลืมว่าใส่ถุงมือด้วย เพราะสารหล่อเย็นนั้นมีพิษ) และปล่อยให้สารหล่อเย็นไหลออกมาลงภาชนะที่เรารองไว้ด้านล่างของรถตามขั้นตอนที่ 4 เมื่อไหลออกหมดแล้วให้ปิดวาล์วนั้น และใช้กรวยเติมสารหล่อเย็นที่ใช้แล้วเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด แล้วรองถาดกลับเข้าไปที่เดิม
ขั้นตอนที่ 7 – ทำความสะอาดหม้อน้ำ
ตอนนี้เราพร้อมที่จะล้างหม้อน้ำแล้ว ใช้สายยางเติมน้ำลงในหม้อน้ำจนกระทั่งเต็ม แล้วจึงเปิดวาล์วออกเพื่อให้น้ำไหลลงไปให้หมดเพื่อล้างหม้อน้ำ ทำซ้ำจนกระทั่งน้ำที่ไหลออกมาใส แล้วนำน้ำล้างเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด ปิดวาล์วให้เรียบร้อย
ขั้นตอนที่ 8 – เติมน้ำยาหม้อน้ำ
สารหล่อเย็นควรมาจากการผสมสารหล่อเย็นเข้มข้นกับน้ำในอัตราส่วนที่เท่ากันอย่างพอเหมาะ และควรใช้น้ำกลั่นในการผสม เนื่องจากสะอาดและป้องกันการเกิดตะกรัน ควรผสมในภาชนะอื่นให้เสร็จเรียบร้อยก่อนแล้วจึงนำมาเติมในหม้อน้ำ โดยทั่วไปหม้อน้ำจะมีความจุประมาณ 2 แกลลอน
ขั้นตอน 9 – ไล่ฟองอากาศในระบบ
การปล่อยฟองอากาศที่อาจมีในระบบหล่อเย็น โดยติดเครื่องยนต์ในขณะที่ปิดฝาหม้อน้ำด้วย (เพื่อป้องกันการเกิดแรงดัน) โดยปล่อยให้เครื่องทำงานประมาณ 15 นาที แล้วเปิดฮีทเตอร์ให้ร้อน การกระทำนี้จะช่วยในการหมุนเวียนของสารหล่อเย็นดีขึ้นและเป็นการไล่อากาศที่มีอยู่ในระบบ ทำให้มีพื้นที่ในการเติมสารหล่อเย็นได้อีก แล้วจึงเติมสารหล่อเย็นลงไป ระวังฟองอากาศที่จะถูกแทนที่โดยสารหล่อเย็นกระเด็น เพราะมันค่อนข้างร้อน จากนั้นปิดฝาและเช็ดของเหลวส่วนเกินออกให้สะอาด
ขั้นตอนที่ 10 – ตรวจสอบความสะอาดให้เรียบร้อย
ตรวจเช็คฝาปิดต่างๆ, ผ้าที่เช็ด, สายท่อเก่า และภาชนะที่ต้องทำลายอย่างสารหล่อเย็นเช่นเดียวกับน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว อย่าลืมว่าสารหล่อเย็นมีกลิ่นที่เด็กๆ ชอบดังนั้นอย่าปล่อยทิ้งเอาไว้ นำเอาไปทิ้งที่ขยะรีไซเคิลที่อยู่ใกล้บ้าน ให้ห่างไกลจากเด็กที่สุด
14 Oct 2013
www.kiatrungsub.com